พระกริ่งวัดตรีทศเทพ ๒๔๙๑



ประวัติการสร้าง

ระ กริ่งวัดตรีทศเทพ ๒๔๙๑ เป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึก ในพิธีผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพวรวิหาร โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โปรดให้หล่อพระกริ่งนี้ขึ้น ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐ พ.ย. ๒๔๙๑ เวลา ๑๖.๐๕ น. และวันที่ ๑๘ ธ.ค. ๒๔๙๑ เวลา ๑๐.๒๗ น. ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรฯ เมื่อวันที่ ๑ เม.ย. ๒๔๙๒ เวลา ๒๐.๐๐ น. ซึ่งเป็นวันเริ่มงานผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ รูปแบบของพระกริ่งวัดตรีทศเทพ ๒๔๙๑ นี้ได้จำลองมาจากองค์พระประธานในพระอุโบสถซึ่งเป็นพระปางมารวิชัย โดยมีครอบน้ำมนต์ในพระหัตถ์ซ้าย ฐานด้านหน้า มีบัวคว่ำบัวหงาย ๗ กลีบ ด้านหลัง ๒ กลีบ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑.๖ ซม. สูงทั้งฐาน ๓.๒ ซม. จากการที่พระกริ่งพิมพ์นี้ได้จำลองมาพระประธาน จึงได้เรียกว่า "พระกริ่งพระประธาน" แต่ส่วนใหญ่ในวงการ พระเครื่องจะเรียกว่า " พระกริ่งวัดตรีทศเทพ " มากกว่า การที่ พระกริ่งวัดตรีทศเทพ ๒๔๙๑ สร้างที่วัดบวรฯ ก็เพราะวัดตรีทศเทพ เป็นวัดที่อยู่ใน พระสังฆราชูปถัมภ์ ในสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ วัดบวรฯ นั่นเอง

กระแสมี 2 วรรณะออกเหลืองอมเขียว และน้าตาลอ่อนบรรจุกริ่งโดยเจาะใต้ฐาน พระกริ่งรุ่นนี้รอยเจาะค่อนข้างใหญ๋แบบเดียวกับพระกริ่ง 7 รอบ

จำนวนการสร้าง สร้างจำนวนไม่มาก คาดกันว่าไม่น่าจะเกิน 3,000 องค์ และหากหมดแล้วก็หมดเลยไม่มีการสร้าง เสริมหรือเพิ่มเติมใด ๆ

เป็น พระกริ่งที่สร้างก่อนหน้าพรระกริ่งไพรีพินาศและพรระกริ่ง 7 รอบ เพราะว่าพระรุ่นนี้ สร้างในปี พ.ศ. 2491 ส่วนพระกริ่งไพรีพินาศ เป็นพี่รองเพราะสร้างในปี พ.ศ. 2495 ส่วน“พระกริ่ง 7 รอบวัดบวรนิเวศวิหาร” ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2499 ทั้งนี้ “พระกริ่ง 7 รอบวัดบวรนิเวศวิหาร” ใช้พิมพ์เดียวกันกับ “พระกริ่งวัดตรี” โดยเอาหม้อน้ำมนต์ออก และตอกเลขเจ็ดไทยที่บัวล่างหลังองค์พระ)

พระ กริ่งวัดตรีทศเทพ ๒๔๙๑ เป็นพระกริ่งที่เคยมีราคาที่ถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับ "พระกริ่งไพรีพินาศ" วัดบวรฯ พิมพ์บัวเหลี่ยม และ พิมพ์บัวแหลม  ถึง แม้ว่าในปัจจุบันนี้ ราคาจะเริ่มเขยิบขึ้นมาเรื่อย ๆอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ก็ยังต้องถือว่าราคายังถูกมากนะครับเมื่อเทียบกับรูปลักษณ์ ศิลปะ กระแสมวลสารโลหะ ตลอดจนพิธีและศักดิ์ศรีที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้พระกริ่งที่มีราคาสูงลิบลิ่วสกุล อื่น ๆ

สำหรับ นักสะมที่อยากหาพระที่พิธีดีและมีพุทธคุณเหมือน "พระกริ่งไพรีพินาศ" และ“พระกริ่ง7 รอบ” ก็ไม่ควรพลาด “พระกริ่งวัดตรี” เพราะทั้งหมดล้วนสร้างตามตำราโบราณครบสูตร โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น